Probiotic จุลินทรีย์มีประโยชน์ เกี่ยวข้องกับการรักษาสิวอย่างไร?

สิวปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยและเกิดได้หลายสาเหตุเช่น สิววัยรุ่น สิวจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือการแพ้เครื่องสำอาง ดังนั้นการรักษาสิวนอกจากให้ยารักษาการอักเสบและติดเชื้อของสิวแล้ว ยังต้องรักษาถึงสาเหตุหลักของสิวชนิดนั้น เพื่อรักษาให้หายขาด และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของสิว


  • การเกิดสิวอีกสาเหตุหนึ่งที่มีการศึกษาต่อเนื่อง นั่นคือทฤษฎี Gut-brain-skin

ถ้าเราทานอาหารที่มีไขมันมากและมีกากใยน้อย ร่วมกับภาวะความเครียดทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติและท้องผูกได้
ส่งผลถึงเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ รวมถึงการสร้างสารพิษ Endotoxin จากแบคทีเรียหลุดออกจากผนังลำไส้ เข้าไปสู่ระบบไหลเวียนเลือดทำให้เกิดการอักเสบ Oxidative Stress, Substance P เพิ่มขึ้น Insulin Sensitivity ลดลง ทำให้ Sebum Production มากขึ้น และเกิดการอักเสบของสิวเพิ่มมากขึ้น

จากการศึกษาพบว่า Probiotics เป็นแบคทีเรียชนิดดีหลายชนิด เช่น Lactobacillus Acidophilus, Lactobacillus Bifidobacterium สามารถทำให้อาการอักเสบในร่างกายลดลงกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น สามารถช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย P. acnes ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้อีกด้วย

ปัจจุบันเริ่มมีการนำ Probiotcs มาใช้ในการรักษาสิวทั้งที่เป็นชนิดทาซึ่งพบว่าช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว, ลดอาการอักเสบ และชนิดกินซึ่งนำมาใช้ร่วมกับการรักษาแบบ Conventional Therapy จะช่วยให้การรักษาสิวดีขึ้น
การรักษาสิวด้วย Probiotics อย่างเดียวได้ผลการรักษาที่น้อยกว่าการรักษาแบบเดิมที่รักษาด้วยยาทา, ยากินที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ Probiotics จึงเป็นอีกทางเลือกของการรักษาสิว แต่ยังคงต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อพัฒนาให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้น

เรียบเรียงโดย
นายแพทย์ อานนท์ ไพจิตโรจนา
แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง ประจำพรเกษมคลินิก

เอกสารอ้างอิง
1. Whitney P Bowe, Alan C Logan. Acne vulgaris, probiotics and the gut- brain- skin axis—back to the future? Gut Pathog.2011;3:1.doi 10.1186/1757-4749-3-1
2. Mary-Magaret Kober, Whitney P Bowe. The effect of probiotics on immune regulation, acne, and photoaging. Int J Womens Dermatol, 2015 Jun; 1(2):85-89.doi 10.1016/j.ijwd.2015.02.001
3. Pavicic T., Wollenweber U., Farwick M.,Karting H.C. Antibicrobial and anti-inflammatory activity and efficacy of phytosphingosine: in vitro and in vivo addressing Acne vulgaris.Int J Cosmet Sci.2007;29:181-190
4. Kang B.S., Seo J.G., Lee G.S., Kim J.H.,Kim S.Y., Han Y.W. Antimicrobial activity of enterocins from Enterococcus faecalis SL-5 against Propionibacterium acne, the causative agent in acne vulgaris and it’s therapeutic effect. J Microbiol. 2009;41:101-109.
5. Azadeh Goodarzi, Samantha Mozafarpoor, Mohammad Bodaghabadi, Masomeh Mohamadi. The potential of probiotics for treating acne vulgaris: A review of literature on acne and microbiota. Dermatologic therapy / Volume,issue3. doi.org/10.111/dth.13279
6. De los Mosquera Tayupanta, Tatiana; Pumisacho Ocana, Victoria Sheila. Journal of Pure & Applied Microbiology.Sep 2019,Volume,issue3,p1317-1324.doi/10.22207/JPAM.13.3.03
icon