ค้นหาสาเหตุอาการผื่นเเพ้ได้อย่างแม่นยำ

หมดคำถามว่าผื่นเกิดจากการแพ้อะไรด้วยการทดสอบ Patch Test เพื่อหาสาเหตุของการแพ้ มีคนสอบถามเข้ามาเยอะเลยว่า การทดสอบนี้ยุ่งยากรึเปล่า และมีขั้นตอนในการทำอย่างไรบ้าง วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ

ปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากการสัมผัสสารกระตุ้นจากภายนอกร่างกาย แล้วเกิดปฏิกริยาต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส โดยมักมีอาการผื่นแดง คัน บริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับสารเหล่านั้น หากเป็นรุนแรงอาจมีน้ำเหลืองในบริเวณผื่นด้วย และมักเป็นๆหายๆ หลังจากรักษาแล้วสักระยะเวลาหนึ่งก็จะกลับมาเป็นซ้ำลักษณะเหมือนเดิมเนื่องจากสัมผัสสารนั้นซ้ำๆ ผิวหนังบริเวณเดิม ซึ่งพบบ่อยบริเวณหน้า มือ เปลือกตา ริมฝีปาก

 

ผิวหนัง-พร เกษม คลินิก-โรค ผิวหนัง-ผิวหนัง อักเสบ-รักษา โรค ผิวหนัง-ผื่น ผิวหนัง-รักษา ผิวหนัง-รีวิว-คลินิก-สิว-สิว อุด ตัน-คลินิก ใกล้ ฉัน-ผื่น คัน-ผื่น แพ้ ผิวหนัง

 

ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบ แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายของคนไข้อย่างละเอียด ในกรณีที่ สงสัยว่าจะมีการแพ้ชนิดที่เป็น ผื่นสัมผัส เช่นแพ้ครีม เครื่องสำอาง สบู่ล้างหน้า หรือแพ้เครื่องประดับ เป็นต้น สารเคมีต่างๆ เหล่านี้สามารถกระตุ้นทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสได้

วิธีการทดสอบครีมหรือผลิตภัณฑ์ด้วย “Patch Test”

“Patch Test” เป็นวิธีการทดสอบการแพ้สัมผัสได้แม่นยำ ซึ่งจะทำการทดสอบโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังโดยตรง จากนั้นในกระบวนการทำ Patch Test แพทย์จะนำสารที่พบได้บ่อยหรือครีมที่สงสัยที่ว่าทำให้เกิดการแพ้ และประเมินว่าเป็นสาเหตุของอาการแพ้มาทำการทดสอบ โดยนำสารดังกล่าว (standard patch test) และครีมที่สงสัยใส่หลุม(chamber) แล้วนำมาติดที่หลังด้านบนและ ปิดพลาสเตอร์ทับ การอ่านผลครั้งแรก แพทย์จะนัดมาอ่านหลังจากทำการทดสอบสารเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และอ่านผลครั้งที่ 2 คือหลังจากนั้นประมาณ 2 วัน ถัดมา เพื่อสรุปผลว่าสารเคมีตัวใดบ้างที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนังของคนไข้ค่ะและเราสามารถตรวจดูได้จากฉลากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต่างๆได้ว่า มีส่วนประกอบที่คนไข้แพ้ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะใช้หรือไม่

 

ผิวหนัง-พร เกษม คลินิก-โรค ผิวหนัง-ผิวหนัง อักเสบ-รักษา โรค ผิวหนัง-ผื่น ผิวหนัง-รักษา ผิวหนัง-รีวิว-คลินิก-สิว-สิว อุด ตัน-คลินิก ใกล้ ฉัน-ผื่น คัน-ผื่น แพ้ ผิวหนัง

 

การเตรียมตัวก่อนการทำทดสอบ Patch Test

  • ให้งดการทานยากลุ่มสเตียรอยด์ (prednisolone)หรือยาแก้แพ้ (antihistamine) อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนทดสอบ (กรณีคนไข้มีการรับประทานยาชนิดนี้อยู่) เพราะสเตียรอยด์มีผลกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อน
  • ผู้รับการทดสอบไม่ได้อยู่ในช่วงผื่นเห่อรุนแรง
  • งดทำการทดสอบ Patch Testในสตรีมีครรภ์
  • ควรนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ หรือสงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้ เช่น ครีม ยาทา หรือเครื่องสำอางมาด้วย พร้อมบรรจุภัณฑ์และฉลาก

 

การเตรียมตัวระหว่างการทำทดสอบ Patch Test

  • ปิดแผ่นพลาสเตอร์ที่มีสารที่จะทำการทดสอบทิ้งไว้บริเวณแผ่นหลังเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นแพทย์จะนัดพบเพื่ออ่านผลครั้งแรก และจะนัดพบครั้งที่สองเมื่อครบ 96 ชั่วโมง
  • ระหว่างระยะเวลาที่ทำการทดสอบ ควรระวังไม่ให้ผิวหนังเปียกน้ำหรือได้รับความชื้น
  • ขณะทำการทดสอบ ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น การเล่นกีฬา
  • ขณะทำการทดสอบ อาจมีอาการคันหรือระคายเคืองบ้างเล็กน้อยบริเวณที่ทำการทดสอบ ซึ่งเกิดจากสารเคมีที่เป็นสาเหตุทำปฏิกิริยาให้เกิดผื่นแพ้เล็กๆ บริเวณที่ทำการทดสอบ

 

Patch Test จะสามารถทดสอบได้ทั้งหมด 36 สารค่ะ ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Nickel
  2. Wool Alcohol
  3. Neomycin
  4. Potassium dichromate
  5. Caine mix
  6. Mx-07 Fragrance mix
  7. Colophonium
  8. Paraben mix
  9. Negative Control
  10. Balsum of Peru
  11. Ethy lene diamine Dihydrochloride
  12. Cobalt Dichloride
  13. 4-tert-Butylphenolformaldehyde resin
  14. Epoxy resin
  15. Carbamix
  16. Black rubber mix
  17. Methylisothiazolinone + Methylchloroisothiazolinone
  18. Quaternium – 15
  19. Methyldibromo Glutaronitrile Methyldibromo glutaronitrile
  20. PPD
  21. Formaldehyde
  22. Mx-05A Mercapto mix 2.0 pet
  23. Thimerosol
  24. Thiuram mix
  25. Diazolidiny Urea
  26. Quinoline
  27. Tixocortol-21-Pivalate
  28. Gold Sodium Thiosulfate
  29. Imidazolidiny Urea
  30. Budesonide
  31. Hydrocortisone-17-Butyrate
  32. Mercaptobenzothiazole
  33. Bacitracin
  34. Parthenolide
  35. Disperse Blue
  36. Bronopol

­

หลังทำการทดสอบ Patch Test เสร็จแล้ว

แพทย์จะแจ้งผลให้ทราบว่าแพ้สารเคมีชนิดใดบ้าง พบในผลิตภัณฑ์ชนิดใดและแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว การหลีกเลี่ยง และการป้องกันการสัมผัสสารเคมีเหล่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดผื่นแพ้สัมผัสขึ้นมาอีก

บทความโดย
พญ.สุณี เจริญหิรัญยิ่งยศ
พญ.ศศิธร ธัญรัตนศรีสกุล
ตารางเวรเเพทย์ สามารถค้นหา (Search) ชื่อเเพทย์หรือสาขา

icon