สิวหิน หรือ สิวข้าวสารขึ้นบนใบหน้า มีวิธีกำจัดให้หลุดไปได้ไหม?

หลายครั้งที่หมอได้รับคำถามว่า ทำไมสิวบริเวณจมูกและใต้ตาจึงไม่ยอมหายไปเสียที จึงต้องอธิบายว่า ตุ่มเล็กๆบนหน้าเราอาจไม่ใช่สิวเสมอไป บางตุ่มเป็นสิวหิน บางจุดเป็นสิวข้าวสาร หากสังเกตดีๆก็จะแยกจากสิวอุดตันธรรมดาได้ไม่ยากเลยค่ะ

 

สิวหิน (Syringoma)

ตามหลักการแพทย์คือเนื้องอกของท่อเหงื่อ ลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กสีขาวขุ่นหรือสีเหลือง มักเกิดบริเวณรอบตา ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน มีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นกับบุคคลและกรรมพันธุ์ แต่จำนวนมักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ

สิวหินเป็นเนื้องอกที่ไม่มีอันตรายใดๆ ไม่กลายเป็นเนื้อร้าย แต่มักก่อให้เกิดความกังวลในแง่ของความสวยงาม ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน ขาดความมั่นใจเนื่องจากมักเป็นบริเวณรอบตาซึ่งเป็นบริเวณที่สังเกตเห็นได้ง่าย

 

สิวหิน (Syringoma)

ตามหลักการแพทย์คือเนื้องอกของท่อเหงื่อ ลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กสีขาวขุ่นหรือสีเหลือง มักเกิดบริเวณรอบตา ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน มีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นกับบุคคลและกรรมพันธุ์ แต่จำนวนมักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ

สิวหินเป็นเนื้องอกที่ไม่มีอันตรายใดๆ ไม่กลายเป็นเนื้อร้าย แต่มักก่อให้เกิดความกังวลในแง่ของความสวยงาม ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน ขาดความมั่นใจเนื่องจากมักเป็นบริเวณรอบตาซึ่งเป็นบริเวณที่สังเกตเห็นได้ง่าย

การรักษาสามารถทำได้ โดยการใช้คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์จี้ก้อนสิวหินออก แต่เนื่องจากสิวหินอยู่ค่อนข้างลึก จึงแนะนำให้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความชำนาญด้านเลเซอร์ เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลเป็น

 

สิวข้าวสาร (Milia)

เป็นการอุดตันของท่อเหงื่อ มักเกิดร่วมกับการรบกวนผิว เช่นเกิดหลังแผลหาย หรือมีการขัดถูผิว ลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็กประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร สีขาว แข็งเล็กน้อย ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณรอบตา โหนกแก้มและจมูก

การรักษาสิวชนิดนี้ทำได้ง่ายโดยการใช้เข็มสะกิดแล้วใช้ไม้กดสิวกดออก แต่วิธีนี้อาจทำให้ผิวช้ำจนเกิดแผลเป็นได้ อีกวิธีคือการใช้เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เปิดหัวสิวก่อนกดออก ซึ่งเป็นวิธีที่เจ็บน้อยกว่าและช้ำน้อยกว่าอีกด้วย

 

บทความโดย พญ.ศศิธร ธัญรัตนศรีสกุล
ตารางเวรเเพทย์ สามารถค้นหา (Search) ชื่อเเพทย์หรือสาขา

icon