Sclerotherapy Program
สาขาที่ให้บริการเส้นเลือดขอดที่ขาเกิดจากการเสื่อมสภาพของลิ้นกั้นในผนังหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่เหมือนวาวล์ในท่อน้ำ ป้องกันไม่ให้เลือดดำไหลย้อนกลับ ทำให้เลือดดำไหลกลับจากปลายเท้ากลับขึ้นไปที่หัวใจทิศทางเดียว เมื่อมีการเสื่อมของลิ้นกั้นนี้ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่ปลายเท้า และเกิดการคั่งของเลือดในเส้นเลือดดำ เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความดันในหลอดเลือดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดผนังหลอดเลือดมีการขยายตัว เกิดการโป่งพองของหลอดเลือด ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดตามมา
เส้นเลือดขอดสาเหตุเกิดจากอะไร ?
สาเหตุการเสื่อมสภาพของลิ้นในผนังหลอดเลือด เกิดจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม รวมถึงปัจจัยที่ทำให้ความดันเลือดภายในเส้นเลือดเพิ่มมากกว่าปกติ ได้แก่ การนั่งหรือยืนนานๆ การตั้งครรภ์ การที่มีก้อนเนื้อในช่องท้องไปกดเส้นเลือดภายในช่องท้อง
เส้นเลือดที่เห็นผิดปกติแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.เส้นเลือดฝอยขนาดเล็ก (Spider Vein) เส้นเลือดฝอยขนาดเล็กจะอยู่ในชั้นตื้นๆ เห็นเป็นเส้นเลือดสีแดงไปจนถึงสีน้ำเงิน เส้นเลือดประเภทนี้จะไม่มีอาการ แต่มีผลในแง่ความสวยงาม นอกจากที่ขาแล้ว ยังพบได้ในบริเวณอื่น เช่น ใบหน้า หน้าอก เป็นต้น |
2.เส้นเลือดดำขนาดใหญ่ (Varicose Vein) เส้นเลือดดำขนาดใหญ่ จะเห็นเป็นสีม่วงถึงสีฟ้า ในระยะเริ่มต้นจะเป็นเส้นตรงไม่คดเคี้ยว ในรายที่เป็นมากเส้นเลือดจะปูดนูนจากผิวหนัง และมีลักษณะคดเคี้ยว |
|
อาการที่เกิดจากเส้นเลือดขอด
|
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดฝอยขอด
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของเส้นเลือดจะลดลงเนื่องจากมีความเสื่อมของเส้นใยอิลาสติกที่ผนังเส้นเลือด รวมถึง ความแข็งแรงของลิ้นในเส้นเลือดที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
- เพศ ผู้หญิง มีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีผลทำให้ผนังเส้นเลือดคลายตัว ดังนั้น ในช่วงการตั้งครรภ์ หรือการทานยาคุมมีผลทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้ ในระยะที่อายุครรภ์มากขึ้น ขนาดมดลูกโตขึ้น มีการกดเส้นเลือดดำในช่องท้อง ส่งผลให้เลือดดำจากขา ไหลผ่านช่องท้องเพื่อกลับไปที่หัวใจได้ยากขึ้น
- น้ำหนักตัว คนอ้วน มีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดมากกว่า เนื่องจากน้ำหนักตัวมีผลต่อความดันในเส้นเลือดดำที่ขา
- ภาวะการยืนหรือนั่งนานๆ ทำให้การไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดลดลง จากการที่กล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อขาไม่เคลื่อนไหว ทำให้เลือดคั่งในเส้นเลือดมาก ความดันในเส้นเลือดก็จะสูงขึ้น โดยมากจะพบในอาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งนานๆ เช่น ศัลย์แพทย์ ครู ทหาร ช่างทำผม เป็นต้น
- ภาวะที่มีความดันในช่องท้องมากกว่าปกติ ส่งผลให้เลือดดำจากส่วนขาไม่สามารถไหลเวียนผ่านเส้นเลือดในช่องท้องได้อย่างสะดวก เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะท้องผูกเรื้อรัง การที่มีเนื้องอกหรือก้อนในช่องท้อง เป็นต้น
การรักษาโดยการฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด (Sclerotherapy) การฉีดยาเพื่อทำให้เกิดการสลายเส้นเลือด โดยการทำให้เกิดการทำลายผนังหลอดเลือดของเส้นเลือดขอด เส้นเลือดที่โป่งพองจะเกิดการอักเสบ ตีบแคบลง หลังจากการฉีด 2 - 3 สัปดาห์ เส้นเลือดขอดก็จะยุบและหายไป การรักษาโดยการฉีดยาสามารถทำได้ในเส้นที่มีขนาดน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร โดยที่ยังไม่มีความผิดปกติของลิ้นในเส้นเลือดขนาดใหญ่ หรือใช้ฉีดเส้นเลือดขอดที่ยังเหลือหลังการผ่าตัดเส้นเลือดขอดเส้นใหญ่ ภายหลังการฉีดยารักษาผู้ป่วยควรเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการฉีดยา เพื่อช่วยให้ยากระจายตัวได้ดีขึ้น และควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาฉีดให้ได้ผลดี โดยควรสวมติดต่อกันอย่างน้อย 5 - 7 วัน (ยกเว้นในกรณีที่อาบน้ำ)
|
ข้อห้ามในการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ การมีประวัติการแพ้สารที่ใช้ฉีด มีเส้นเลือดอักเสบ หรือเส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ร่วมกับปัญหาเส้นเลือดดำส่วนลึก การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง (Dermatologist) และรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยคือประมาณ 3 - 4 ครั้งต่อข้าง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน ซึ่งจำนวนครั้งในการรักษาขึ้นกับปริมาณเส้นเลือดขอดที่เป็นด้วย วิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่หายขาด ในระยะยาวอาจมีการกลับมาเป็นซ้ำของเส้นเลือดขอดได้อีก ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มี
|
|
ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการฉีด พบได้ไม่บ่อย แต่อาจเป็นอันตรายรุนแรงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มของยา
|
การป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดขอด การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ความดันในหลอดเลือดดำที่ขาเพิ่มขึ้น ได้แก่
|